วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันพุธ ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๔


 วันพุธ ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ (วันที่ ๑๖ ของโครงงาน)








วันอังคาร ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๔

วันอังคาร ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ (วันที่ ๑๕ ของโครงงาน)


วันจันทร์ ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔

วันจันทร์ ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ (วันที่ ๑๔ ของโครงงาน)



วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันอังคาร ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๔

วันอังคาร ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ (วันที่ ๕ ของโครงงาน)
 วันนี้เป็นวันแรกของสัปดาห์หลังจากปิดเรียน ๓ วันเนื่องในวันรัฐธรรมนูญ









วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๔

วันศุกร์ ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ (วันที่สี่ของโครงงาน)
วันนี้หลังจากนักเรียนทำสมาธิก่อนการเรียนรู้แล้ว นักเรียนปฏิบัติการเรียนรู้ตามปฏิทิน คือ การเรียนรู้ เรื่องของใบตอง และการห่อขนมด้วยใบตอง โดยครูตั้งคำถามว่า "นักเรียนจะตั้งคำถามเกี่ยวกับใบตอง และการห่อขนมด้วยใบตองว่าอย่างไรบ้าง" ซึ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถามแล้วค้นหาข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ โดยสืบค้นจากหนังสือ อินเทอร์เน็ต
หลังจากสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับใบตองแล้ว มีการเตรียมตัวก่อนออกไปทัศนศึกษา ครูตั้งประเด็นไว้ว่านักเรียนจะออกไปทัศนศึกษานอกสถานที่ นักเรียนจะไปทำอะไรบ้าง โดยนักเรียนช่วยกันตั้่งคำถาม และเขียนหัวข้อที่จะไปเรียนรู้นอกสถานที่ ณ ร้านเรือนไทยขนมไทย ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายขนมไทยนานาชนิด มีการเดินทางที่ไม่ไกลจากโรงเรียน โดยนักเรียนช่วยกันตั้งคำถามก่อนออกไปเรียนรู้และทำข้อตกลงระหว่างการไปเรียนรู้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าของร้าน ในเรื่องการตอบคำถามและลดราคาขนมที่นักเรียนซื้อกลับมาเป็นตัวอย่างอีกด้วย




หลังจากกลับมาจากการไปเรียนรู้นอกสถานที่แล้ว นักเรียนได้ขนม "ข้าวต้มมัด" กลับมา เรียนรู้ ครูตั้งประเด็นคำถามว่าเราจะเรียนรู้จากขนมข้าวต้มมัดนี้อย่างไรบ้าง นักเรียนแต่ละกลุ่มก็ช่วยกันตั้งคำถาม และทำการทดลอง ดู แกะ ดม ชิม สัมผัสกับขนมข้าวต้มมันทุกแง่มุม

ในภาคบ่าย นักเรียนนได้เรียนรู้จากตัวอย่างขนมประเภทต่าง ๆ เช่น ขนมกล้วย ขนมขี้หนู ขนมเกลือ ขนมถั่วแปบ ขนมตะโก้ ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมฝอยทอง และขนมเม็ดขนุน ครูตั้งประเด็นคำถามต่างๆ เกี่ยวกับขนมแต่ละชนิด เช่น เป็นขนมประเภทใด มีส่วนผสมอะไรบ้าง มีวิธีการห่อใบตองอย่างไร นักเรียนสามารถตอบคำถามที่ครูถามได้ทุกข้อ เนื่องจากมีประสบการณ์จากการเรียนรู้จากวันก่อนๆ นี้
หลังจากกิจกรรมการตอบคำถามแล้วนักเรียนได้ชิมขนมแต่ละประเภท อย่างเอร็ดอร่อยและสนุกสนาน
หลังจากนั้นเป็นการทดลองการห่อขนมแบบต่าง ๆ ตามที่ได้คันหาข้อมูลไว้เมื่อภาคเช้า









วันพฤหัสบดี ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔








วันพุธ ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๔







วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔

วันเริ่มต้นเรียนรู้โครงงาน

วันนี้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๗ คน คละนักเรียนชาย-หญิง โดยก่อนหน้านั้นในชั่วโมงแนะแนว และลูกเสือ นักเรียนได้ร่วมกันคัดเลือกหัวข้อที่จะเรียนรู้โครงงานไว้กว้าง ๆ แล้ว คือ โครงงานเกี่ยวกับ ขนมไทยห่อใบตอง แต่ยังไม่ได้ร่วมกันกำหนดชื่อโครงงานอย่างเป็นทางการ

นักเรียนปฏิบัติสมาธิก่อนการเรียนรู้

ในชั่วโมงแรกครูได้ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังจะศึกษาเรียนรู้ โดยการใช้คำถาม “What Where When Why Who Whom How” พร้อมกับให้นักเรียนได้ออกเสียงภาษาอังกฤษ และบอกความหมายของคำศัพท์ที่เป็นคำถามนั้น

ข้อสังเกต

๑. มีนักเรียนบางคนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง เช่น ตัวอักษร H เขียนเป็น S

๒. มีนักเรียนบางคนทำงานไม่เป็นระบบ สังเกตจากการเขียนคำศัพท์ พร้อมความหมาย นักเรียนจะไม่เขียนตามลำดับการเขียนแต่ละบรรทัด แต่จะเขียนเรียงเป็นบรรทัดเดียวกัน

ครูได้ชี้แนะนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งการเขียน การจัดระบบหมวดหมู่ เผื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและง่ายต่อการจดจำ

หลังจากครูแนะนำให้นักเรียนใช้การตั้งคำถามจากคำถามนำดังกล่าวแล้ว ได้ยกกรณีตัวอย่างขึ้นมา คือ โทรศัพท์มือถือ ให้นักเรียนทุกคนได้ร่วมกันตั้งคำถาม จากนั้นนำนักเรียนย้อนกลับมาสู่เรื่อง ขนมไทยห่อใบตอง นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถามที่อยากรู้จากหัวข้อโครงงาน แล้วนักเรียนในกลุ่มรวบรวมคำถามเป็นของกลุ่มตนเอง

ภาคบ่าย นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจัดหมวดหมู่คำถาม แล้วจัดกลุ่มเป็นหัวข้อการเรียนรู้ เขียนเป็น mind-mapping แล้วตัวแทนออกมานำเสนอหัวข้อที่จะต้องเรียนรู้ พร้อมกับประเด็นคำถามในแต่ละหัวข้อ

ได้หัวข้อที่เรียนรู้ในเรื่อง ขนมไทยห่อใบตอง ร่วมกัน ๖ หัวข้อ คือ

๑. ความหมาย

๒. ประวัติความเป็นมา

๓. ประเภท

๔. วัสดุอุปกรณ์

๕. ขั้นตอนวิธีการทำ

๖. ประโยชน์และคุณค่า

ข้อสังเกต

นักเรียนบางกลุ่มใช้คำผิดความหมายในการเสนอหัวข้อ ครูช่วยชี้แนะและให้นักเรียนร่วมกันปรับสำนวนภาษาให้ถูกต้อง สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน เข้าใจตรงกัน

จากหัวข้อเรียนรู้ที่ตรงกันทั้ง ๖ หัวข้อ นักเรียนได้เขียนนำเสนอหัวข้อเพิ่มเติม ครูให้นักเรียนอ่านหัวข้อจากชาร์ทที่นำเรียนได้นำเสนอไว้ แล้ววิเคราะห์ว่าประโยคหรือวลีที่นักเรียนนำเสนอมีความเหมาะสมที่จะเป็นหัวข้อเพิ่มเติมใหม่หรือไม่ รวมทั้งร่วมกันปรับแก้ไขสำนวนภาษา

ขั้นตอนนี้นักเรียนฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยพิจารณาหัวข้อใดควรเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อใดควรเป็นหัวข้อย่อย เช่น หัวข้อ การเรียกลูกค้าและการโฆษณาสินค้า การแจกใบปลิว ราคาขนมไทย การคิดค่าใช้จ่าย เมื่อสังเคราะห์แล้วเป็นหัวข้อเรื่อง การขาย เป็นต้น

จาก ๖ หัวข้อเดิม นักเรียนสามารถเพิ่มเติมหัวข้อที่จะเรียนรู้ในเรื่อง ขนมไทยห่อใบตอง ได้ดังนี้

๑. ความหมาย

๒. ประวัติความเป็นมา

๓. ความสำคัญ

๔. ประเภท

๕. วัสดุอุปกรณ์

๖. ขั้นตอนวิธีการทำ

๗. ประโยชน์และคุณค่า

๘. ผลเสียของการรับประทานเกิน

๙. การเก็บรักษา

๑๐. การขาย

สรุปเขียนเป็น mind-mapping ได้ดังนี้

นำหัวข้อต่าง ๆ มาจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน ได้ดังนี้




ภาพกิจกรรม


ตัวอย่างบันทึกประจำวันของนักเรียน