วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔

วันเริ่มต้นเรียนรู้โครงงาน

วันนี้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๗ คน คละนักเรียนชาย-หญิง โดยก่อนหน้านั้นในชั่วโมงแนะแนว และลูกเสือ นักเรียนได้ร่วมกันคัดเลือกหัวข้อที่จะเรียนรู้โครงงานไว้กว้าง ๆ แล้ว คือ โครงงานเกี่ยวกับ ขนมไทยห่อใบตอง แต่ยังไม่ได้ร่วมกันกำหนดชื่อโครงงานอย่างเป็นทางการ

นักเรียนปฏิบัติสมาธิก่อนการเรียนรู้

ในชั่วโมงแรกครูได้ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังจะศึกษาเรียนรู้ โดยการใช้คำถาม “What Where When Why Who Whom How” พร้อมกับให้นักเรียนได้ออกเสียงภาษาอังกฤษ และบอกความหมายของคำศัพท์ที่เป็นคำถามนั้น

ข้อสังเกต

๑. มีนักเรียนบางคนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง เช่น ตัวอักษร H เขียนเป็น S

๒. มีนักเรียนบางคนทำงานไม่เป็นระบบ สังเกตจากการเขียนคำศัพท์ พร้อมความหมาย นักเรียนจะไม่เขียนตามลำดับการเขียนแต่ละบรรทัด แต่จะเขียนเรียงเป็นบรรทัดเดียวกัน

ครูได้ชี้แนะนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งการเขียน การจัดระบบหมวดหมู่ เผื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและง่ายต่อการจดจำ

หลังจากครูแนะนำให้นักเรียนใช้การตั้งคำถามจากคำถามนำดังกล่าวแล้ว ได้ยกกรณีตัวอย่างขึ้นมา คือ โทรศัพท์มือถือ ให้นักเรียนทุกคนได้ร่วมกันตั้งคำถาม จากนั้นนำนักเรียนย้อนกลับมาสู่เรื่อง ขนมไทยห่อใบตอง นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถามที่อยากรู้จากหัวข้อโครงงาน แล้วนักเรียนในกลุ่มรวบรวมคำถามเป็นของกลุ่มตนเอง

ภาคบ่าย นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจัดหมวดหมู่คำถาม แล้วจัดกลุ่มเป็นหัวข้อการเรียนรู้ เขียนเป็น mind-mapping แล้วตัวแทนออกมานำเสนอหัวข้อที่จะต้องเรียนรู้ พร้อมกับประเด็นคำถามในแต่ละหัวข้อ

ได้หัวข้อที่เรียนรู้ในเรื่อง ขนมไทยห่อใบตอง ร่วมกัน ๖ หัวข้อ คือ

๑. ความหมาย

๒. ประวัติความเป็นมา

๓. ประเภท

๔. วัสดุอุปกรณ์

๕. ขั้นตอนวิธีการทำ

๖. ประโยชน์และคุณค่า

ข้อสังเกต

นักเรียนบางกลุ่มใช้คำผิดความหมายในการเสนอหัวข้อ ครูช่วยชี้แนะและให้นักเรียนร่วมกันปรับสำนวนภาษาให้ถูกต้อง สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน เข้าใจตรงกัน

จากหัวข้อเรียนรู้ที่ตรงกันทั้ง ๖ หัวข้อ นักเรียนได้เขียนนำเสนอหัวข้อเพิ่มเติม ครูให้นักเรียนอ่านหัวข้อจากชาร์ทที่นำเรียนได้นำเสนอไว้ แล้ววิเคราะห์ว่าประโยคหรือวลีที่นักเรียนนำเสนอมีความเหมาะสมที่จะเป็นหัวข้อเพิ่มเติมใหม่หรือไม่ รวมทั้งร่วมกันปรับแก้ไขสำนวนภาษา

ขั้นตอนนี้นักเรียนฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยพิจารณาหัวข้อใดควรเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อใดควรเป็นหัวข้อย่อย เช่น หัวข้อ การเรียกลูกค้าและการโฆษณาสินค้า การแจกใบปลิว ราคาขนมไทย การคิดค่าใช้จ่าย เมื่อสังเคราะห์แล้วเป็นหัวข้อเรื่อง การขาย เป็นต้น

จาก ๖ หัวข้อเดิม นักเรียนสามารถเพิ่มเติมหัวข้อที่จะเรียนรู้ในเรื่อง ขนมไทยห่อใบตอง ได้ดังนี้

๑. ความหมาย

๒. ประวัติความเป็นมา

๓. ความสำคัญ

๔. ประเภท

๕. วัสดุอุปกรณ์

๖. ขั้นตอนวิธีการทำ

๗. ประโยชน์และคุณค่า

๘. ผลเสียของการรับประทานเกิน

๙. การเก็บรักษา

๑๐. การขาย

สรุปเขียนเป็น mind-mapping ได้ดังนี้

นำหัวข้อต่าง ๆ มาจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน ได้ดังนี้




ภาพกิจกรรม


ตัวอย่างบันทึกประจำวันของนักเรียน

1 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจมากเลยค่ะ โครงการนี้มีที่มาที่ไปยังไงคะ

    ตอบลบ